วิธีการใช้งานการสื่อสาร RS-485 ของอินเวอร์เตอร์ FRENIC-Mega

วิธีการใช้งานการสื่อสาร RS-485 ของอินเวอร์เตอร์ FRENIC-Mega

การควบคุมอินเวอร์เตอร์ ในกรณีสั่งงานอินเวอร์เตอร์จากภายนอกผ่านช่องทางเทอร์มินอลที่ได้นำเสนอไปก่อนหน้า จะมีคำสั่ง Run & Stop จากภายนอก และปรับค่าความถี่จากภายนอก (R ปรับค่าได้) ที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว โดยวันนี้จะพูดถึงการสั่งงานโดยไม่ใช้สวิตซ์ หรือ R ปรับค่า โดยจะสั่งงานผ่าน Protocol การสื่อสารที่มีติดมากับตัวอินเวอร์เตอร์รุ่น FRENIC-Mega คือ Modbus RTU (RS-485) จะมี 2 ช่องทางการสื่อสารตามกรอบสี่เหลี่ยมในภาพที่-1

 

ภาพที่ 1 Wiring FRENIC Mega
ภาพที่-1 Wiring FRENIC-Mega

                    เริ่มจาก Port1 ดูได้จากภาพที่-2 จะเป็นช่องหัวสายแลน (RJ-45) ที่ใช้เชื่อมต่อกับคีย์แพดอยู่แล้ว โดยอินเวอร์เตอร์จะจ่ายไฟให้กับคีย์แพดผ่านขาของ RJ-45 ตามภาพที่-3 ถ้าหากต้องการใช้การสื่อสาร RS-485 โดยการถอดคีย์แพดกดออกจากขั้วต่อ RJ-45 และต่อสายสื่อสาร RS-485 เพื่อควบคุมอินเวอร์เตอร์ผ่าน PC หรือ PLC

ภาพที่ 2 RS 485 COM Port1 RJ 45 ภาพที่ 2 RS 485 COM Port1 RJ 451
ภาพที่-2 RS-485 COM Port1 (RJ-45)

ภาพที่ 3 RS 485 COM Port1 RJ 45
ภาพที่-3 RS-485 COM Port1 (RJ-45)

                       แต่โดยส่วนใหญ่จะใช้งานช่องเทอร์มินอลในภาพที่-4 เพื่อให้ช่อง RS-485 COM Port1 (RJ-45) เชื่อมต่อกับคีย์แพดโดยเฉพาะ โดย RS-485 COM Port2 (Terminal) ใช้ส่งข้อมูลผ่านโปรโตคอลหลายจุด เช่น PLC กับอุปกรณ์หลายตัว โดยจะมีตารางด้านล่างแสดงลักษณะ ชื่อ และฟังก์ชันของแต่ละเทอร์มินัล ขั้วต่อเหล่านี้สามารถเชื่อมต่อกับวงจรได้อย่างง่ายดายโดยผ่านสายไฟ 2 เส้นดังภาพที่-5

ภาพที่ 4 RS 485 COM Port2 Terminal1 ภาพที่ 4 RS 485 COM Port2 Terminal2
ภาพที่-4 RS-485 COM Port2 (Terminal)

ลักษณะเทอร์มินอล ชื่อเทอร์มินอล คำอธิบายฟังก์ชั่น
DX+ เทอร์มินอลข้อมูลการสื่อสาร RS-485 (+) ขั้วของข้อมูลการสื่อสาร RS-485 (+).
DX- เทอร์มินอลข้อมูลการสื่อสาร RS-485 (-) ขั้วของข้อมูลการสื่อสาร RS-485 (-).
SD ขั้วต่อตัวป้องกันสายเคเบิลสำหรับสื่อสาร เทอร์มินอลสำหรับชิลด์ของสายชิลด์ที่หุ้มฉนวนจากวงจรอื่นๆ
สวิตช์ภายใน เทอร์มินอลสำหรับการใช้งานตัวต้านทาน ตัวต้านทาน 112Ω โดยสวิตช์นี้ใช้สำหรับต่อ/ไม่ต่อการใช้งานตัวต้านทาน.

ภาพที่ 5 RS 485 COM Port2 Terminal
ภาพที่-5 RS-485 COM Port2 (Terminal)

การตั้งค่าสวิตช์ภายใน ดังภาพที่-6

สวิตซ์ ฟังก์ชั่น
SW2
(สวิตซ์ 2)
สลับตัวต้านทานของพอร์ตสื่อสาร RS-485 บนอินเวอร์เตอร์ โดยเลือก “เปิด” หรือ “ปิด”
(การสื่อสาร RS-485 พอร์ต 2 บนบอร์ด PCB ควบคุม)
- หากอินเวอร์เตอร์ที่ใช้งานเชื่อมต่อกับเครือข่ายการสื่อสาร RS-485 เป็นอุปกรณ์สุดท้าย ให้เลือก SW2 เป็น “เปิด”
SW3
(สวิตซ์ 3)
สลับตัวต้านทานของพอร์ตสื่อสาร RS-485 บนอินเวอร์เตอร์ โดยเลือก “เปิด” หรือ “ปิด”
(การสื่อสาร RS-485 พอร์ต 1 สำหรับเชื่อมต่อคีย์แพด)
- หากต้องการเชื่อมต่อคีย์แพดกับอินเวอร์เตอร์ ให้เลือก SW3 เป็น “ปิด” (ค่าเริ่มต้นจากโรงงาน)
- หากอินเวอร์เตอร์ที่ใช้งานเชื่อมต่อกับเครือข่ายการสื่อสาร RS-485 เป็นอุปกรณ์สุดท้าย ให้เลือก SW3 เป็น “เปิด”

ภาพที่ 6 สวิตช์ภายใน
ภาพที่-6 สวิตช์ภายใน

การตั้งค่าของการสื่อสาร RS-485
               การสื่อสารระหว่าง PLC กับ FRENIC-Mega นั้นเพียงตั้งค่า Station Address, Baud rate, Data length, Parity check, Stop bits ดังภาพที่-7 ให้ตรงกันระหว่าง PLC และ FRENIC-Mega แล้วเขียนโปรแกรมสั่งงานจาก PLC ส่งมาให้อินเวอร์เตอร์ทำงาน

ภาพที่ 7 Parameter สำหรับตั้งค่า RS 485 1
ภาพที่ 7 Parameter สำหรับตั้งค่า RS 485 2
ภาพที่-7 Parameter สำหรับตั้งค่า RS-485


 





















 

ดาว์นโหลด แคตตาล็อก, สเป้กแอร์แทค
Promotion-Big Sale
ติดต่อเรา
TICTechnology Instrument 
www.tic.co.th
tupackT.U Pack 
www.tupack.co.th
Your LiftYour Lift 
www.yourlift.co.th